ufabet

ทำธุรกิจการเล็ก ด้วยแนวคิด Design Thinking

คิดได้ยังไงเนี่ย?! เคยรู้สึกแบบนี้ไหมตอนเห็นสินค้าสุดล้ำ ดีไซน์เฉียบ หรือได้ยินแผนการตลาดแสนฉลาดวันนี้เราจะพาทุกคนจมดิ่งสู่เบื้องหลังกระบวนการทางความคิด ที่นำไปสู่ความสำเร็จของแบรนด์ดังระดับโลก

ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากมายในตอนนี้ นั่นคือ Design Thinking การใช้กระบวนการของนักออกแบบ มาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ บนโลก และพัฒนาแบรนด์ของตนเองให้สะกิดใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น!

Design Thinking คืออะไร?

อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ Design Thinking คือกลยุทธ์ หรือกระบวนการในการออกแบบงาน โดยหัวใจหลักคือการคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหลัก เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาชีวิตของผู้บริโภคให้ดีขึ้นอย่างสร้างสรรค์ เหมือนที่ Tim Brown ผู้ก่อตั้งบริษัทออกแบบชั้นนำของโลก IDEO กล่าวว่า ‘Design Thinking ไม่ได้เกี่ยวกับแค่ออกแบบของให้สวยสะดุดตา แต่ต้องเข้าใจผู้บริโภค ผลักดันเศรษฐกิจ และกลมกลืนไปกับเทคโนโลยี’

วิวัฒนาการของ Design Thinking สู่โลกแห่งธุรกิจ

ว่ากันว่ารูปแบบของความคิดแบบ Design Thinking เกิดขึ้นในช่วงปี 1960 ในประเทศอุตสาหกรรมเฟื่องฟูอย่างอเมริกา ที่วิทยาศาสตร์และการออกแบบ เริ่มถูกนำมารวมกัน ก่อให้เกิดศาสตร์ใหม่ที่เรียกว่า Design Science ซึ่งมีการสร้างทีมนักออกแบบ ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม หรือวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งแลเห็นปัญหามากมาย จึงสามารถออกแบบสิ่งใหม่ที่แก้ปัญหาเก่าได้อย่างดีเยี่ยม

ซึ่งแนวคิดการออกแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ปลายปี 90 เข้าสู่ยุค 2000 ที่เริ่มมีบริษัทดีไซน์เลือดใหม่ผุดขึ้นมามากมาย และได้นำแนวคิด Design Thinking มาใส่รวมกับสินค้าและบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้บริโภค

และแล้วก็เข้าสู่ปี 2002 จนถึงปัจจุบัน ที่คำว่า Design Thinking ถูกตีแผ่มากขึ้น จนเริ่มมีการนำแนวคิดแบบดีไซน์เนอร์ เข้ามาใช้ในเชิงธุรกิจมากขึ้น ตั้งแต่มีทีมงานวิจัย วิเคราะห์ผู้บริโภคอย่างละเอียด และนำข้อมูลมาพัฒนาระบบภายในของบริษัท หรือใช้แนวคิดนี้มาแก้ปัญหาเชิงธุรกิจด้วย

5 ขั้นตอนของ Design Thinking

โดยจะเห็นได้ว่า Design Thinking มีการเปลี่ยนแปลงมากมายตลอดช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา แต่หลักในการใช้ยังคงเดิม ด้วย 5 ขั้นตอน ซึ่งจะทำให้แนวคิดในการริเริ่มสร้างสรรค์ของธุรกิจคุณมีความเป็นระบบมากขึ้น!

ขั้นตอนที่ 1 : Empathise ทำความเข้าใจ

ขั้นตอนนี้คือสร้างความเข้าใจปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข หรือเข้าใจกลุ่มผู้บริโภคนั่นเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และที่สำคัญคือไม่ได้เกิดขึ้นจากการคิดขึ้นมาเอง แต่เกิดจากการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ หรือทำการเก็บข้อมูล สอบถามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ จนได้ข้อสรุปที่ใกล้เคียงความจริง (Fact) ที่สุด

ขั้นตอนที่ 2 : Define นิยาม

หลังจากทำความเข้าใจปัญหาเสร็จ จึงเข้าสู่การนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ และสรุป จนได้ออกมาเป็นนิยามสั้น ๆ ของบริษัท ผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่าง ๆ ที่เราต้องการสร้างขึ้นเพื่อมาแก้ไขปัญหาข้างต้น ซึ่งจุดสำคัญของขั้นตอนนี้คือให้ยึดหลักว่าธุรกิจของเราสร้างมาเพื่อใคร รวมถึงอย่านิยามให้แคบจนไม่เหลือพื้นที่ให้ความคิดสร้างสรรค์

ขั้นตอนที่ 3 : Ideate ระดมความคิดใหม่

เข้าสู่ขั้นตอนที่สนุกที่สุด นั่นคือการระดมความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะใช้วิธีอะไรก็ได้ที่ทางทีมงานเห็นว่าเหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทำ Mind-map การรวมความคิดแบบ Brainstorm หรือจะเป็นการใช้ Keyword มาขยายต่อ ซึ่งหัวใจสำคัญของขั้นตอนนี้คือสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ เพื่อให้เกิดความคิดที่นอกกรอบ แต่ก็ยังสามารถนำมาใช้งานได้จริงอยู่

ขั้นตอนที่ 4 : Prototype สร้างแบบจำลอง

หลังจากที่ได้ไอเดียสุดบรรเจิด เราก็จะต้องเอาไอเดียนั้นมาทำให้เป็นรูปเป็นร่างเชิงรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือแผนการเชิงธุรกิจก็ตาม ซึ่งโชคดีที่ยุคสมัยนี้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้สามารถสร้างแผนหรือแบบจำลองในรูปแบบ Digital ได้ หรือใช้วัสดุจำลองสร้างแบบที่มีลักษณะเหมือนของจริงขึ้นมาก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันแก่ทุกคนในทีม

ขั้นตอนที่ 5 : Test ทดสอบ

ufabet

หลังจากที่ได้แบบจำลองขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าขั้นตอนต่อไปก็คือการทดสอบ นำแบบจำลองนั้นมาลองใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรับ Feedback และนำไปพัฒนาต่อได้อย่างถูกจุดมากที่สุด

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หลักการ 5 แบบของ Design Thinking สามารถทำงานกลับไปกลับมาได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเป็นกระบวนการที่เป็นเส้นตรงอย่างเดียว (Non-linear Process) เช่น หากกลุ่มเป้าหมายทดลองสินค้าจำลอง แล้วเจอปัญหาใหม่ ทางทีมอาจต้องกลับไปนิยามปัญหาใหม่ หรือระหว่างการทำแบบทดลอง อาจมีข้อผิดพลาดที่จุดประกายไอเดียใหม่ ก็สามารถกลับไปสร้างไอเดียใหม่ ๆ อีกรอบ เป็นกระบวนการที่ละเอียดและใช้เวลา เพื่อกระบวนการสร้างสรรค์สูงสุด

Design Thinking สู่ความสำเร็จจริงในโลกธุรกิจ

พูดมาขนาดนี้หลายคนอาจไม่เห็นภาพว่า Design Thinking จะสามารถนำมาใช้จริงในโลกธุรกิจได้อย่างไร? จึงเอาเรื่องราวความสำเร็จของแบรนด์ชั้นนำของโลก ที่น้อยคนจะรู้ว่าใช้ Design Thinking มาทำให้ธุรกิจรุ่งเรืองจนถึงทุกวันนี้

PepsiCo ซ่าให้สุด หยุดไม่อยู่

Pepsi เครื่องดื่มอัดลมที่คงไม่มีใครไม่รู้จัก ที่ในระยะเวลา 12 ปี สามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง 80% โดย CEO หญิงแกร่งอย่าง Indra Nooyi บอกว่าความสำเร็จนี้ส่วนหนึ่งมาจากวิธีคิดแบบ Design Thinking ที่มองการออกแบบให้เป็นมากกว่าบรรจุภัณฑ์ แต่มองให้เป็นประสบการณ์และความรู้สึก โดยให้ทีมดีไซน์ทุกคนเริ่มจากศูนย์หาแรงบันดาลใจจากภาพถ่ายและของใกล้ตัว จนได้ออกมาเป็นแคมเปญสนุก ๆ จับใจคนดูมากมาย เช่น ตู้กดน้ำ Pepsi Spire ที่ดูสวยงามและใช้ในออฟฟิศได้จริง

Nike หลอมรวมดีไซน์ เทคโนโลยี และธุรกิจ

Mark Parker ผู้เป็น CEO ของ Nike ใช้พื้นฐานที่ตนเองเป็นนักออกแบบมาก่อน บริหารงานเพิ่มรายได้ให้แบรนด์ตนเองได้ถึง 2 เท่าในปีที่ผ่านมา! ด้วยหลัก Design Thinking โดยเน้นการระดมไอเดียนอกกรอบ ที่ได้มาจากธรรมชาติและสิ่งเล็ก ๆ รอบตัว จากนั้นจึงรวมเข้ากับเทคโนโลยีสุดล้ำ ให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการทำแบบจำลองและการทดลองจริงกับนักกีฬา พัฒนาสินค้าที่ทั้งสวยนำเทรนด์ และใช้งานได้ดี


ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ netcentric-tech.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated